เกี่ยวกับอาเซียน

ข้อมูลทั่วไป

ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้ายหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิก ในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ กับความท้าทายใหม่ๆ เช่น โรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประเทศสมาชิก (10 ประเทศ)
  • เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
  • สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia)
  • มาเลเซีย (Malaysia)
  • สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines)
  • สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
  • ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia)
  • สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Laos)
  • สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Myanmar)
  • สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore)
  • ราชอาณาจักรไทย (Thailand)

การก่อตั้งประชาคมอาเซียน

อาเซียนตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 หลังการลงนามในปฏิญญาสมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)
โดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่

  • นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีว่าการะทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย
  • ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
  • นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์
  • นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงค์โปร์
  • พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย

เป้าหมายหลักของประชาคมอาเซียน

จัดตั้งประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2558 โดยแบ่งเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่

  • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
รายละเอียดภาพรวม
  • มีเสถียรภาพทางการเมืองสูง โดยสมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นองค์ประมุขและผู้นำรัฐบาล
  • ปรัชญาแห่งชาติ คือ ราชาธิปไตยอิสลามมลายู (Malay Islamic Monarchy – MIB)
  • เริ่มบังคับใช้กฎหมายอาญาอิสลามเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เมื่อ 1 พ.ค. 2557
  • ต้องการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและลดการจ้างแรงงานต่างชาติ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพประชากรตามแผนพัฒนาระยะยาว (WAWASAN 2035)
  • มีนโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะด้านการเกษตร อุตสาหกรรมก่อสร้าง การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นโอกาสขยายช่องทางการค้าและบริการของไทยให้กว้างขึ้น

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 5,765 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 428,960 คน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Bandar Seri Begawan
ภาษาราชการ : มาเล
ศาสนา : คริสต์, พุทธ, อิสลาม, อื่น ๆ
พระประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : ดาโต๊ะ เอรีวัน เปฮิน ยูซอฟ (Dato Erywan Pehin Yusof)
วันชาติ : 23 กุมภาพันธ์
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากเนการาบรูไนดารุสซาลามเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 14,232 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 0 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเนการาบรูไนดารุสซาลามจำนวน 7,614 คน (ข้อมูลปี 2561)

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia)
รายละเอียดภาพรวม
  • เป็นประเทศขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก
  • มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เหมืองแร่ ถ่านหิน สัตว์น้ำ)
  • ให้ความสำคัญกับการปกป้องทรัพยากรทางทะเลตามวิสัยทัศน์แกนอำนาจทางทะเล
  • มีบทบาทสำคัญในกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) และองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) รวมถึงเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่เป็นสมาชิก G 20

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 1,904,443 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 268 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Jakarta
ภาษาราชการ : อินโดนีเซีย
ศาสนา : คริสต์, พุทธ, อิสลาม, อื่น ๆ, ฮินดู
ประธานาธิบดี : นายโจโค วิโดโด (Mr. Joko Widodo)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : เร็ตโน เลสตารี เปรียนซารี มาร์ซูดี (Retno Lestari Priansari Marsudi)
วันชาติ : 17 สิงหาคม
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 709,613 คน (ข้อมูลปี 2562) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2561) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสาธารณรัฐอินโดนีเซียจำนวน 122,252 คน (ข้อมูลปี 2562) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 66 จากปี 2561)

มาเลเซีย (Malaysia)
รายละเอียดภาพรวม
  • มุ่งเป็นประเทศรายได้สูง ภายในปี ๒๕๖๓ (Vision 2020) และมีแผนพัฒนาต่อเนื่อง(Mission 2057) เป็นแนวทางพัฒนาประเทศจนถึงปี ๒๖๐๐
  • เป็นประธานอาเซียนในปี ๒๕๕๘ และสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ รวมถึงมีบทบาทสำคัญในองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC)

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 329,758 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 32 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Kuala Lumpur
ภาษาราชการ : มาเล
ศาสนา : คริสต์, พุทธ, อิสลาม, อื่น ๆ
พระประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ ๕ (His Majesty the Yang di-Pertuan Agong XV Sultan Muhammad V )
นายกรัฐมนตรี : นายมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด (Mr. Mahathir bin Mohamad)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : ดาโต๊ะ ไซฟุดดิน อับดุลละห์ (Dato’ Saifuddin Abdullah)
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 4,032,139 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปมาเลเซียจำนวน 1,745,641 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 5 จากปี 2560)

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines)
รายละเอียดภาพรวม
  • ยึดมั่นในค่านิยมและความเชื่อมั่นในประชาธิปไตย เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
  • เลือกตั้งประธานาธิบดีและเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๙ พ.ค. ๒๕๕๙ นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต จากพรรค PDP-Laban ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี (รับตำแหน่ง ๓๐ มิ.ย. ๒๕๕๙) และจะหมดวาระในเดือน มิ.ย. ๒๕๖๕
  • มีศักยภาพเป็นแหล่งลงทุนด้านพลังงาน และตลาดส่งออกสินค้าของไทย แม้จะมีปัญหา การทุจริต/ความมั่นคงทางอาหาร แต่ก็มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นลำดับต้น ๆ ของเอเชีย
  • ประสบปัญหาความไม่สงบในมินดาเนามานานกว่า ๒๐ ปี และตั้งแต่วันที่ ๒๓ พ.ค. ๒๕๖๐ กลุ่มก่อการร้ายเมาเตซึ่งมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มไอเอสก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในเมือง มาราวีบนเกาะมินดาเนา กองทัพฟิลิปปินส์สามารถเข้าควบคุมและคลี่คลายสถานการณ์ได้ เมื่อวันที่ ๑๖ ต.ค. ๒๕๖๐ และประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังคงประกาศการบังคับใช้กฎอัยการศึก ในพื้นที่จนถึงปลายปี ๒๕๖๑

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 298,170 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 107 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Metropolitan Manila
ภาษาราชการ : ฟิลิปปินส์ อังกฤษ
ศาสนา : คริสต์, อิสลาม
ประธานาธิบดี : นายโรดรีโก โรอา ดูแตร์เต (Mr. Rodrigo Roa Duterte)
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 432,053 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสาธารณรัฐฟิลิปปินส์จำนวน 35,814 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 27 จากปี 2560)

สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
รายละเอียดภาพรวม
  • เป็นประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนที่มีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงในภูมิภาค โดยเป็นผู้เล่นสำคัญในประเด็นทะเลจีนใต้
  • พยายามเพิ่มบทบาทของประเทศในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก โดยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกไม่ถาวรประจำคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ในวาระปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔ (ค.ศ. ๒๐๒๐ – ๒๐๒๑)
  • เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไทยมีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ด้วย ขณะที่เวียดนามมีความสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าวกับประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนแรกเริ่มทั้ง ๕ ประเทศ
  • เป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน เศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง เฉลี่ยร้อยละ ๕.๙ และ ๖.๓๖ ต่อปีในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมาตามลำดับ มีศักยภาพการผลิตสูง แรงงานในประเทศมีคุณภาพและยังคงมีค่าจ้างแรงงานต่ำ
  • ตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐)

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 331,690 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 96 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Hanoi
ภาษาราชการ : เวียดนาม
ศาสนา : พุทธ
ประธานาธิบดี : นายดั่ง ถิ หง็อก ถิง (Mr. Dang Thi Ngoc Thinh)
นายกรัฐมนตรี : นายเหวียน ซวน ฟุก (Mr. Nguyen Xuan Phuc)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : ฝ่าม บิ่งห์ มิงห์ (Pham Binh Minh)
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 1,027,260 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามจำนวน 342,836 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 จากปี 2560)

ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia)
รายละเอียดภาพรวม
  • มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ต่อไทยในทุกๆ ด้าน เนื่องจากมีพรมแดนทางบกติดต่อกันยาว ๗๙๘ กม. และมีพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลประมาณ ๒๖,๐๐๐ ตร.กม. จึงเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดทั้ง “โอกาส” และ “ปัญหา”
  • เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้าและแหล่งลงทุนที่สำคัญของไทย มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองประเทศจึงควรร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต
  • เป็นจุดเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับลาวตอนใต้ และเวียดนามตอนใต้

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 181,035 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 16 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Phnom Penh
ภาษาราชการ : กัมพูชา (เขมร)
ศาสนา : พุทธ
พระประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี (Preah Bat Samdech Preah Boromneath Norodom Sihamoni)
นายกรัฐมนตรี : สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน (Samdech Akka Moha Sena Padei Techo Hun Sen)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : ปรัก สุคน (Prak Sokhonn)
วันชาติ : 9 พฤศจิกายน
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย : 19 ธันวาคม 2493 (ค.ศ. 1950)
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากราชอาณาจักรกัมพูชา...เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 948,351 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปราชอาณาจักรกัมพูชา...จำนวน 97,499 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 75 จากปี 2560)

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Laos)
รายละเอียดภาพรวม
  • เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดกับไทยทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม มีเขตแดนติดต่อกับไทย ทั้งทางบกและทางน้ำ ถึง ๑,๘๑๐ กิโลเมตร พัฒนาการต่าง ๆ ในลาวจึงส่งผลกระทบต่อไทยและการกำหนดนโยบายของไทยต่อภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นแหล่งวัตถุดิบ แหล่งพลังงานสำรอง และแหล่งลงทุนของไทย เพื่อการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ลาว
  • สามารถเป็นจุดเชื่อมต่อ (land bridge หรือ land link) ด้านการคมนาคมขนส่งและการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศที่สามในอนุภูมิภาค

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 236,800 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 7 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Vientiane
ภาษาราชการ : ลาว
ศาสนา : คริสต์, พุทธ, อื่น ๆ
นายกรัฐมนตรี : นายทองลุน สีสุลิด (Mr. Thongloun SISOULITH)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : สะเหลิมไซ กมมะสิด (Saleumxay KOMMASITH)
วันชาติ : 2 ธันวาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย : 19 ธันวาคม 2493 (ค.ศ. 1950)
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 1,664,456 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 20 จากปี 2559) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 1,575,233 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 22 จากปี 2559)

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Myanmar)
รายละเอียดภาพรวม
  • ภายหลังพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ ๘ พ.ย. ๒๕๕๘ เมียนมาได้จัดตั้งรัฐบาลพลเรือนขึ้นครั้งแรกในรอบ ๕๐ ปี
  • ประเด็นที่น่าจับตามอง คือการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ การแก้ปัญหาสถานการณ์ในรัฐยะไข่ กระบวนการสันติภาพ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาปากท้องและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
  • มีทรัพยากรสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้า แรงงาน และแหล่งลงทุนสำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซและไฟฟ้าพลังน้ำ) เป็นทางเชื่อมสู่จีนและอินเดีย เชื่อมทะเลอันดามันกับทะเลจีนใต้
  • เป็นเพื่อนบ้านสำคัญที่มีพรมแดนติดกับไทยยาวที่สุด (๒,๔๐๑ กม.) มีผลประโยชน์ร่วมกันในทุกมิติ แต่ก็ประสบปัญหาร่วมกันหลายประการ อาทิ ยาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ โรคระบาด ความมั่นคงชายแดน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ประเด็นด้านเขตแดน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขร่วมกัน

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 657,740 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 54 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Naypyidaw
ภาษาราชการ : พม่า
ศาสนา : คริสต์, พุทธ, อิสลาม, อื่น ๆ
นายกรัฐมนตรี : มิน อ่อง หล่าย
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 368,159 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาจำนวน 331,919 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 จากปี 2560)

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore)
รายละเอียดภาพรวม
  • มีเสถียรภาพทางการเมืองสูง ทำให้มีความต่อเนื่องของนโยบาย รัฐบาลมีธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นผู้นำด้าน e-government
  • มีนโยบายการทูตเชิงรุก เป็นผู้นำของอาเซียนประเทศหนึ่ง
  • เป็นศูนย์กลางภูมิภาคด้านธุรกิจการค้าและบริการ โทรคมนาคม การเงิน และมีเป้าหมายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน และเคมีภัณฑ์
  • มีระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
  • เป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับไทยทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ มีระบบการศึกษาและการแพทย์ที่ดีระดับแนวหน้าของเอเชีย มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สูง

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 710 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 6 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
ภาษาราชการ : อังกฤษ จีน
ศาสนา : คริสต์, พุทธ, ไม่ระบุ, อิสลาม, ฮินดู
ประธานาธิบดี : นายฮะลีมะห์ ยาคอบ (Mr. Halimah Yacob)
นายกรัฐมนตรี : นายลี เซียน ลุง (Mr. Lee Hsien Loong)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ : วิเวียน บาลากริชนัน (Vivian Balakrishnan)
วันชาติ : 9 สิงหาคม
การท่องเที่ยว : มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐสิงคโปร์เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 1,066,219 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสาธารณรัฐสิงคโปร์จำนวน 530,868 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 0 จากปี 2560)

ราชอาณาจักรไทย (Thailand)

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ : 513,120 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
ประชากร : 69 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
เมืองหลวง : Bangkok
ภาษาราชการ : ไทย
GDP : 504.99 ล้าน USD (ไทย 504.99 ล้าน USD) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
GDP Per Capital : 7,273.6 USD (ไทย 7,273.6 USD) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
GDP Growth : ร้อยละ 4.1 (ไทย ร้อยละ 4.1) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)
สกุลเงิน : 1 THB = บาท
อัตราเงินเฟ้อ : ร้อยละ 1.1 (ไทย ร้อยละ 1.1) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)